วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

class#12 CRM & KMS

Customer relationship management(CRM)
\
             การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management) คือการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด    
      

เป้าหมายของ CRM         
          เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป


ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
 1.ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
-
ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
-
ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ
Cross-Saleing
-
ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น 3


2.ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ(Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ด้านสนามและสารสนเทศต่างๆ
3.ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่างต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
ประโยชน์ของ CRM
1.
มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่
Customer Profile Customer  Behavior
2.
วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม

3.
ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4.
เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5.
ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
   
ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
  

  การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
  การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง

      Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร

classification of application
·            customer- facing
·            customer -touching
·            customer-centric intelligence
·            online networking
Level & Types of e-CRM
·         Foundational sevice    เช่น  การบริการทางเว็บไซต์
·         Customer-centered services 
·         Value-added services  เช่น online auctions, online training &education
·         Loyalty programs  อาจให้ผู้บริโภคเป็น membership

Knowledge management  system (KMS)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร
ประโยชน์ของการบริหารความรู้
      เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
      ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
      ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร
      ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
สร้าง knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองกรค์ความรู้ใหม่ในการปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ  โดยการสร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง
การสร้างความรู้
·        Socialization
·        Externalizaton
·        Combination
·        Internalization
กระบวนการจัดการความรู้
      การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)
      การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
      การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development)
      การแบ่งปัน/กระจายความรู้  (Knowledge Sharing/Distribution)
      การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
      การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น