วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

class#11 strategic information system planning

     IS/IT planning เป็นการวางแผนการจัดการโครงสร้าง IT และapplication portfolio ของทุกๆระดับในองกรค์  โดยเป็นการผสมผสานระหว่างเป้าหมายขององค์กรกับความสามารถของ IT ให้มีความสอดคล้องกัน  เพื่อให้เป้าหมายขององค์กรสามารถสร้างกำไรที่สูงสุดจากการผลิตขององค์กรได้

Four-stage model of IS/IT planning
     เป็นพื้นฐานในการพัฒนา portfolio of application โดยเป็นการทำให้สอดคล้องกันระหว่าง เป้าหมายของบริษัท กับ การสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่ง  โดยประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้
  1. Strategic planning     คือ  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแผนขององค์กร กับ แผน IT  โดยขั้นตอนนี้คือการระบุ application portfolio ของบริษัท ซึ่งอาจขยายรวมไปถึงขั้นตอนในการหา strategic information system(SIS) ที่บริษัทสามารนำไปพัฒนาเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้   และรวมไปถึงการประเมินสภาพแวดล้อมของธุรกิจในปัจจุบัน และวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ในอนาคตของบริษัทด้วย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    • set IS mission
    • Access environment 
    • Access organizational objectives strategies
    • Set IS policies,objectives,strategies\
  2. Organizational Information requirements analysis: ระบุข้อมูลที่ใช้ในการสร้างโครงสร้าง strategic information
    • Access organization's information requirements
    • Assemble master development plan 
  3. Resource allocation planning:แบ่งสัดส่วนระหว่าง IT application development resource กับ operational resource
    • develop  resource requirement plan
  4. Project planning : พัฒนาแผนงาน ตารางงาน และ resource ที่ต้องการ สำหรับ specific IS project
    • Evaluate project and develop project plans
Methodology to facilitate IT planning
  • the business systems planning (BSP) model
            วิธีการนี้คิดค้นขี้นโดย IBM เกิดขึ้นจากสองโครงสร้างพื้นฐาน คือ business processes กับ data classes วิธีการนี้มีข้อดีคือ
    1. เป็นการมองอย่างครอบคลุมทั้งองค์กร ระบบ ผู้ใช้ข้อมูล และช่องว่าง
    2. เหมาะสำหรับช่วงเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง หรือการเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมากข
        ข้อเสียของวิธีการนี้คือ
    1. ใช้เวลานาน
    2. ผลิตข้อมูลเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดเก็บข้อมูลและยากในการวิเคราะห์
    3. ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ใช้มากเกินไป
  • Critical success factor (CSF)  
        เป็นการวิเคราะห์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะอยู่รอดและประสบความสำเร็จ  โดยritical success factor  จะแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม
        ข้อดี
    1. ผลิตข้อมูลจำนวนน้อยกว่าในการวิเคราะห์
    2. มีการคำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    3. ให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่าองค์กรจะจัดการกับข้อมูลอย่างไร
        ข้อเสีย
    1. ขั้นตอนและการวิเคราะห์อยู่ในรูปของ art form
    2. เกิดความสับสนได้บ่อยของผู้ให้สัมภาษณ์ระหว่าง CSF ของตนเองกับขององค์กร
    3. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น